การกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนการประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับเจ้าของธุรกิจ บริษัท องค์กร หน่วยงานและห้างร้านต่างๆที่จะเป็นการเสริมความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายผ่านทางการสื่อสาร ข่าวสาร  การสร้างคอนเทนต์ต่างๆเพื่อที่จะให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดีแก่องค์กร มุ่งหวังที่จะได้รับการสนับสนุน เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ เกิดความนิยม และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการขายสินค้า การโฆษณาและกระจายข่าวสารต่างๆ ที่จะนำมาซึ่งความต้องการ ความสนใจและอยากจะซื้อขายนั่นเอง

 

ทั้งนี้ก่อนที่จะทำการประชมสัมพันธ์นั้น สิ่งที่เราจะต้องคำนึงก่อนเสมอก็คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย  ที่คุณจะต้องเลือกและวางแผนให้สอดคล้องกับการประชาสัมพันธ์มากที่สุด เพราะถ้าหากคุณประชาสัมพันธ์ออกไปโดยที่ยังไม่รู้ว่าคุณต้องการจะสื่อสารกับใคร ต้องการกระตุ้นความสนใจจากใคร หรือต้องการเสียงตอบรับจากใคร ก็จะนำมาซึ่งการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้ผล แต่ถ้าหากคุณมีการวางแผนและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนการประชาสัมพันธ์ให้ตรงจุด ก็จะนำมาซึ่งการกระจายข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าหากคุณต้องการประชาสัมพันธ์ให้กับคนในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร จะสื่อสารกับใคร ก็จะกลายเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ล้มเหลวและไม่เป็นผลถึงแม้จะมีประชากรมากก็ตาม แต่ถ้าหากคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แน่ชัด ก็สามารถที่จะกำหนดตลาดได้ชัดเจนขึ้น นำมาซึ่งการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล ได้รับเสียงตอบรับจากคนที่สนใจนั่นเอง

การประชาสัมพันธ์

สำหรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนการประชาสัมพันธ์นั้นก็สามารถที่จะใช้หลักการได้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามภูมิศาสตร์

เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ตรงตามพื้นที่ที่อยู่ เพื่อที่จะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆ เช่น จังหวัด อำเภอ ภูมิภาค ประเทศ รวมไปถึงลักษณะของบ้าน คอนโดมิเนียม เป็นต้น

  • การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักจิตวิทยา

เป็นการกำหนดโดยแบ่งตามเกณฑ์การดำเนินชีวิต บุคลิกภาพ ความชอบ เช่น ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ร้านอาหารที่ชอบ รสชาติอาหารที่ชอบ กิจกรรมที่ชอบทำ สีที่ชอบ เป็นต้น

  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักพฤติกรรม

เป็นการกำหนดผ่านทางฤติกรรมของผู้บริโภค ที่จะยึดหลักความนิยม ความรู้ ปฏิกิริยาตอบสนอง ความพร้อมในการซื้อ เช่น ช่วงเวลาในการซื้อของ ความถี่ในการซื้อของ ความสนใจพิเศษ หรือทัศนคติที่มีต่อองค์กรหรือสินค้าประเภทนี้นั่นเอง

  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักประชากรศาสตร์

เป็นการแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามชนชั้นทางสังคม อาชีพ อายุ เพศ รายได้

ถ้าหากคุณสามารถที่จะวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ออกมาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการได้ เช่น ต้องการที่จะประชาสัมพันธ์ให้แก่คนในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่  18 – 23 ปี อาชีพ นักศึกษา ชื่นชอบการท่องเที่ยว ก็สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและก่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั่นเอง